'เขื่อนแก่งเสือเต้น'กับป่าสักทอง

19 ต.ค. 2555 | อ่านแล้ว 5322 ครั้ง


 

              อย่างไรก็ดี การศึกษาของ กฟผ. พบว่า ผลตอบแทนด้านการผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผลตอบแทนด้านการเกษตร ในปี 2528 กฟผ. จึงได้ถ่ายโอนการดูแลให้กับกรมชลประทานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

 

               เขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นเขื่อนขนาดใหญ่มูลค่า 11,000 ล้านบาท (ราคาประเมินเมื่อปี 2549) โดยมีขนาดกักเก็บน้ำ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ชลประทาน 305,000 ไร่ แต่หากมีการสร้างเขื่อน ก็จะนำไปสู่การทำลายป่าสักทองธรรมชาติผืนสุดท้ายของประเทศไทยกว่า 24,000 ไร่ และป่าเบญจพรรณอีกกว่า 36,000 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไปกว่า 60,000 ไร่

 

                ต่อมาในปี 2532 คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ได้อนุมัติให้ศึกษาโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเพื่อพัฒนาระบบชลประทานให้แก่ประชาชนในจังหวัดแพร่และสุโขทัย โดยกรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

 

                การผลักดันโครงการของหน่วยงานรัฐดำเนินไปท่ามกลางกระแสคัดค้านจากชาวบ้านที่จะได้รับความเดือดร้อนและจากองค์กรพัฒนาเอกชน ถึงกับเคยจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในเดือนกันยายน 2538 เพื่อขออนุมัติ ทั้งที่รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ กระทั่งกุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ก็นำเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้นเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง คราวนี้เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักจนรัฐบาลต้องมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2539 ให้ชะลอโครงการเพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ก่อนจะตัดสินใจว่าจะเดินหน้าหรือยกเลิก

 

                ในระหว่างนี้ทั้งสองฝ่ายต่างหยิบยกข้อดีข้อเสียมาโต้แย้งกัน โดยฝ่ายสนับสนุนมักชูประเด็นเรื่องประโยชน์ด้านชลประทานและการป้องกันน้ำท่วมที่จะเกิดกับประชาชนท้ายเขื่อน โดยเฉพาะจังหวัดแพร่ สุโขทัย และพิจิตร ขณะที่ฝ่ายคัดค้านอ้างถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ความไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสิทธิชุมชนของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบโดยกล่าวถึงงานวิจัยหลายชิ้นที่ทยอยออกสู่สาธารณะ อาทิ

 

                รายงานการสำรวจผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ทางธนาคารโลกได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดลศึกษา พบว่า พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมมีถึง 430 ชนิด มีสัตว์ป่าหายากชนิดต่างๆ หลงเหลืออยู่หลายชนิดที่จะได้รับผลกระทบ รวมถึงพันธุ์ปลา 68 ชนิด และนกที่มีอยู่ถึง 96 ชนิด โดยเฉพาะนกยูงทองที่พบได้เฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว ด้านกรมป่าไม้ระบุว่า หากมีการสร้างเขื่อน ต้นไม้ใหญ่จะถูกทำลายกว่า 2 ล้านตัน แต่ถ้ารวมต้นเล็กๆ ด้วย ก็จะมีมากถึง 60 ล้านตัน คิดเป็นปริมาตรถึงกว่า 4 แสนลูกบาศก์เมตร ทว่าในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของกรมชลประทานระบุไว้เพียง 1.1 แสนลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

 

                งานวิจัยของสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “การประเมินค่าทางเศรษฐศาตร์ของป่าไม้: กรณีศึกษามูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ของป่าไม้สักในอุทยานแห่งชาติแม่ยมจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น” ซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าในช่วงอีก 50 ปีข้างหน้า (เทียบเท่ากับอายุของเขื่อน) พบว่า เราอาจสูญเสียประโยชน์ที่ได้จากป่าสักทอง (ได้แก่ ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมูลค่าในแง่จิตใจของคนไทยรุ่นนี้และรุ่นต่อไป) เป็นมูลค่าสูงถึง 6,390 ล้านบาท ในขณะที่ธนาคารโลกประเมินผลตอบแทนที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไว้ที่ 1,800 ล้านบาท ในด้านประเด็นเรื่องการป้องกันน้ำท่วม องค์การอาหารและการเกษตรศึกษาพบว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรมชลประทานได้เคยระบุไว้ว่าสามารถเยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ 9.6 เปอร์เซ็นต์

 

                สำหรับทางออกของปัญหาหากไม่สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หลายฝ่ายทั้งนักวิชาการและองค์กรภาคประชาชนเสนอว่า ให้ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กในลำน้ำสาขาที่มีถึง 77 สาขาแทนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำในแต่ละตำบล รวมถึงการขุดลอกตะกอนลำน้ำและการเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ เป็นต้น

 

..........

 

                ทุกวันนี้เวลาน้ำท่วมมากหรือแล้งเยอะ นักการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นก็ยังคงร่ายคาถา “เขื่อนแก่งเสือเต้น” ทั้งที่ประสบการณ์การพัฒนาเขื่อนกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ลุ่มน้ำต่างๆ ที่มีเขื่อนขนาดใหญ่ก็ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซ้ำร้ายทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

 

ที่มาข้อมูล “22ปีแก่งเสือเต้นกับคำถามเดิม: จะเอาเขื่อนหรือเอาป่า?” โดย เกษร สิทธิหนิ้ว ในนิตยสารคดี ฉบับที่ 207 เดือนพฤษภาคม 2545, บทความเรื่อง “ผลงานวิจัยเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้น (ที่นักการเมืองไม่อยากรู้) โดย ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี

 

 

ข้อเสนอต่อรัฐบาลของเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ 

 

 

เมื่อเกิดวิกฤตอุทกภัย-น้ำท่วมขึ้นทีไร เสียงเรียกร้องให้มีการก่อสร้าง "เขื่อน" เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวมักดังเซ็งแซ่ขึ้นมาทุกที เช่นเดียวกับเสียง "คัดค้าน" เพราะมองว่า "เขื่อน" ไม่ได้ช่วยคลี่คลายความเดือดร้อน ทั้งยังจะทำให้ปัญหาขยายวงกว้างยิ่งขึ้น คนได้ประโยชน์มีแต่กลุ่มทุน-นักการเมือง ที่ได้ผลประโยชน์เม็ดเงินมหาศาลจากการสร้างเขื่อน ล่าสุดข้อถกเถียงเรื่องการสร้าง "เขื่อนแก่งเสือเต้น" มูลค่าหลายหมื่นล้านบาทบนพื้นที่ป่าสักทองผืนสุดท้ายของไทย เพื่อบรรเทาผลกระทบอุทกภัย และแก้ปัญหาภัยแล้งทางภาคเหนือ ก็ดังขึ้นอีกคำรบ รวมถึงเสียงคัดค้านจากเครือข่าย "ลุ่มน้ำภาคเหนือ" ซึ่งได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงให้สังคมไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นถึงปมปัญหา-ทางออก เอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

 

                พื้นที่ภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และต้นน้ำสาขาแม่น้ำโขง-สาละวิน แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญของโลก มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า มีผืนดินที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา เนินเขา ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เหมาะสำหรับการทำการเกษตร มีแหล่งน้ำสายหลักและลำน้ำสาขามากมายหลายสาย และพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง เราจึงพบเห็นความหลากหลายของพันธุ์ปลา สัตว์น้ำ นกน้ำประจำถิ่นและนกอพยพ ป่าไม้อันหนาแน่น ทั้งป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ก่อให้เกิดความหลากหลายของพรรณพืชและสัตว์ป่า

 

                การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือของประเทศไทย ได้ยึดตามยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ รวมทั้งนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ โดยมีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ยังคงเน้นหนักการก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ

 

                แม้นโยบายดังกล่าวคาดว่าจะเกิดผลดีต่อประชาชนในภาคเกษตร โดยจะให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มมากขึ้น เพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเพาะปลูกได้ตลอดปีในหลายล้านไร่ คาดว่าครัวเรือนเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และประเทศจะสามารถแข่งขันในการเป็นแหล่งผลิตอาหารโลกได้ตามนโยบายรัฐบาล แต่ผลกระทบเชิงลบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในหลายประเด็น ก็คือ "หนี้สาธารณะ"ที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และโครงการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ ซึ่งต้องกู้เงินต่างประเทศ รวมถึงผลกระทบของการก่อสร้าง และการผันน้ำเหล่านั้นที่มีต่อระบบนิเวศในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคอย่างกว้างขวาง ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผลกระทบต่อสิทธิการใช้น้ำของประชาชนและสิทธิการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและกำหนดนโยบายน้ำขององค์กรท้องถิ่น ผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนของแม่น้ำระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงถึงกัน นอกจากการก่อสร้างเขื่อนแล้ว คือการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำภายในและระหว่างประเทศ ซึ่งในภาคเหนือจะมีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการกก-อิง-น่าน โครงการผันน้ำแม่น้ำเมย-สาละวิน สู่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

 

 

                นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดทำระบบชลประทานแบบท่อเครือข่ายส่งน้ำทั่วประเทศ (National Water Grid System) เป็นต้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ขอเสนอต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้

 

                1.รัฐต้องทบทวนแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ และหันมาผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นทางออกในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนและผลักดันการจัดการน้ำชุมชน โดยใช้แนวคิดภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นวางแผนการจัดการน้ำชุมชน โดยคนในพื้นที่มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

 

                2.รัฐต้องยุติการผลักดัน พ.ร.บ.น้ำ ที่จะเป็นการรวมศูนย์อำนาจการจัดการน้ำไว้ที่รัฐ และเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิของชาวบ้านและชุมชน ในการจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับภูมินิเวศที่เหมาะสมสอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น

 

                3.รัฐต้องกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำโดยชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบการจัดการน้ำของชุมชนท้องถิ่น และให้สิทธิและอำนาจการจัดการน้ำแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกฎหมายรองรับ

 

                4.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน และผลกระทบจากภัยเขื่อนแตก รวมทั้งภัยที่เกิดจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากรัฐภัย

 

                5.รัฐต้องยุติการผลักดัน และยกเลิกโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทย เช่น โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการเขื่อนแม่น้ำยม โครงการเขื่อนยมบน จ.แพร่, โครงการเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์, โครงการเขื่อนโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ, โครงการเขื่อนแม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร, โครงการเขื่อนท่าแซะ โครงการเขื่อนรับร่อ จ.ชุมพร, โครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ จ.อุบลราชธานี, โครงการเขื่อนคลองกราย จ.นครศรีธรรมราช, โครงการเขื่อนสายบุรี จ.ปัตตานี เป็นต้น

 

                6.รัฐต้องยอมรับและส่งเสริมการจัดการน้ำโดยชุมชน เคารพต่อภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างในการจัดการน้ำของแต่ละชุมชนท้องถิ่น อาทิ ระบบเหมืองฝาย ระบบการเกษตรที่สอดคล้องกับน้ำต้นทุนทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิถีการผลิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

 

                7.รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งแผนการพัฒนาลุ่มน้ำของกรมทรัพยากรน้ำเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

 

                8.รัฐต้องส่งเสริมให้ชาวบ้านและชุมชนฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเร่งด่วน รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูดซับและเก็บน้ำไว้ในฤดูน้ำหลาก อีกทั้งต้องยุติการส่งเสริมการเกษตรที่บุกรุกและทำลายป่า ทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ และสนับสนุนให้ชุมชนได้มีสิทธิในการดูแลรักษาป่าชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนปลูกต้นไม้เพิ่มตามศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละชุมชน

 

                9.รัฐต้องแสดงความรับผิดชอบ รวมทั้งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมา อาทิ เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี, เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีษะเกษ เป็นต้น รวมทั้งกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ และรับผิดชอบ ต่อกรณีที่เป็นผลพวงจากโครงการพัฒนาเขื่อนขนาดใหญ่ เพราะมีชาวบ้านมากมายที่ต้องโยกย้ายและเกิดปัญหาตามมามากมายกับคนเหล่านั้น อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ไม่ตอบโจทย์ตามคำที่กล่าวอ้างไว้และยังเป็นปัญหาตามมาจนถึงวันนี้

 

                10.โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า แร่ ฯลฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชน รวมทั้งต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ และผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์ที่เป็นธรรม

 

                11.รัฐต้องยุติการผลักดันโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำสาละวิน รวมทั้งหยุดผลักดันโครงการผันน้ำ กก อิง น่าน โครงการโขง ชี มูน เป็นต้น

 

                12.รัฐต้องประสานการร่วมมือในการทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชาวบ้าน การกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน โดยตระหนักถึงระบบนิเวศ และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญ

 

                13.รัฐต้องทบทวนนโยบายการพัฒนาลุ่มน้ำ ที่เน้นการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ โครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ เพื่อการจัดหาน้ำหรือการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ ถือเป็นแนวคิดที่หน่วยงานด้านการจัดการน้ำ ยึดเป็นแนวทางหลักของการบริหารจัดการน้ำตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำท่วม เป็นผลสืบเนื่องจากการมีแหล่งเก็บกักน้ำที่ไม่เพียงพอสำหรับเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน และไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้ง

 

                14.รัฐต้องทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

 

 

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำยม-เขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่

ที่มาข้อมูล : โครงการศึกษาเพื่อทำแผนหลักรองรับการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงโครงการชลประทาน สำหรับแผนฯ โดยกรมชลประทาน ณ เมษายน 2546

 

 

 

1.  สภาพภูมิประเทศ

 

                ลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา น่าน ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์  พื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสิ้น 23,618 ตารางกิโลเมตร มีความยาวตลอดลำน้ำประมาณ 735 กิโลเมตร

                แม่น้ำยมมีต้นกำเนิดจากดอยขุนยวมในทิวเขาผีปันน้ำ อยู่ในเขตอำเภอปงและอำเภอเชียงม่าน จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอสอง อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย จากนั้นจะไหลเข้าสู่หุบเขาทางตะวันตก ผ่านอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น แล้วไหลสู่ทางใต้เข้าสู่ที่ราบที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  ในช่วงนี้ แม่น้ำยมจะไหลคู่ขนานมากับแม่น้ำน่าน จากนั้นจะไหลผ่านอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอกงไกรลาศ และผ่านอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกเข้าสู่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอโพทะเล จนเข้าเขตจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่บ้านเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

 

ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ 

ลำน้ำงาว ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยมในเขตจังหวัดแพร่ 

น้ำแม่สอง บรรจบกับแม่น้ำยมที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 

แม่น้ำรำพัน บรรจบกับแม่น้ำยมที่อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 

แม่น้ำพิจิตร บรรจบกับแม่น้ำยมที่บ้านบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

 

 

 

 

 

 

ในรายงาน “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ได้แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำยมเป็น 11 ลุ่มน้ำย่อย ดังนี้

รหัสลุ่มน้ำย่อย

ชื่อลุ่มน้ำย่อย

พื้นที่รับน้ำ(ตร.กม)

08.02

แม่น้ำยมตอนบน

1,978

08.03

แม่น้ำควน

858

08.04

น้ำปี้

636

08.05

แม่น้ำงาว

1,644

08.06

แม่น้ำยมตอนกลาง

2,884

08.07

น้ำแม่คำมี

444

08.08

น้ำแม่ต้า

518

08.09

ห้วยแม่สิม

522

08.10

น้ำแม่หมอก

1,333

08.11

น้ำแม่พัน

895

08.12

แม่น้ำยมตอนล่าง

11,906

 

รวมทั้งสิ้น

23,618

 

2.  อุตุ อุทกวิทยา

 

                2.1. ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

หน่วย

ช่วงพิสัยค่ารายปีเฉลี่ย

ค่าเฉลี่ยรายปี

อุณหภูมิ

องศาเซลเซียส

25.3-28.2

21.7

ความชื้นสัมพัทธ์

เปอร์เซ็นต์

68.6-75.3

72.4

ความเร็วลม

นอต

1.7-4.5

1.6

เมฆปกคลุม

0-10

5.1-5.8

5.5

ปริมาณการระเหยจากถาด

มิลลิเมตร

1,429.4-2,018.0

1,675.3

ปริมาณการคายระเหยของพืชอ้างอิง

มิลลิเมตร

1,683.2-1,934.9

1,780.5

 

 

 

                2.2  ปริมาณน้ำฝน

                ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยผันแปรตั้งแต่ 1,000 – 1,600 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำเท่ากับ 1,159.2  มิลลิเมตร  เป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูฝน 1,037.5  มิลลิเมตร (คิดเป็นร้อยละ  89.50) ของปริมาณฝนทั้งปี  ดังตาราง

หน่วย : มิลลิเมตร

เม..

..

มิ..

..

..

..

..

..

..

..

..

มี..

ฤดูฝน

ฤดูแล้ง

ทั้งปี

57.0

176.1

141.4

158.0

212.8

227.4

121.9

23.5

6.4

5.9

8.8

20.0

1,037.5

121.7

1,159.2

 

                2.3  ปริมาณน้ำท่า

                ปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติรายปีเฉลี่ย  3,656.6 ล้านลูกบาศก์เมตร  แยกเป็น

                - ปริมาณน้ำท่าฤดูฝน  3,216.8 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ  87.97 ) 

                - ปริมาณน้ำท่าฤดูแล้ง 439.8  ล้านลูกบาศก์เมตร      (คิดเป็นร้อยละ 12.03)

                - ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 4.91  ลิตรต่อวินาทีต่อตารางกิโลเมตร

ดังตาราง

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

เม..

..

มิ..

..

..

..

..

..

..

..

..

มี..

ฤดูฝน

ฤดูแล้ง

ทั้งปี

45.7

171.2

227.8

290.3

687.5

1,154.6

635.5

208.3

88.6

51.1

26.5

19.7

3,216.8

439.8

3,656.6

 

3. ข้อมูลประชากร

 

                ประชากรทั้งสิ้น (ปี พ.ศ. 2544) จำนวน 1.973 ล้านคน และคาดการณ์จำนวนประชาการในปี 2549, 2554, 2559 และปี 2564 เท่ากับ  1.977 ล้านคน, 1.982 ล้านคน, 1.986 ล้านคน และ 1.991 ล้านคน ตามลำดับโดยประชากรส่วนใหญ่อาศัยกระจัดกระจายอยู่นอกเขตเมืองส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ค่อนข้างหนาแน่นได้แก่ บริเวณอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่  อำเภอเมืองและอำเภอสวรรคโลก  จังหวัดสุโขทัย  และมีอัตราส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองต่อประชากรทั้งลุ่มน้ำเท่ากับร้อยละ 16.08 สรุปดังนี้

ลักษณะชุมชน

จำนวนประชากร (ล้านคน)

 

 

 

 

 

2544

2549

2554

2559

2564

ในเขตเมือง

0.317

0.317

0.318

0.318

0.318

นอกเขตเมือง

1.656

1.660

1.664

1.668

1.673

รวมทั้งลุ่มน้ำ

1.973

1.977

1.982

1.986

1.991

 

4. การอุตสาหกรรม

 

                พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งคาดการณ์ในอนาคตอีก 20 ปีทั้งหน้า ดังนี้

พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม (ไร่)

 

 

 

 

2544

2549

2554

2559

2564

6,705

8,069

9,718

11,710

14,118

 

5. การเกษตร

 

                พื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำยม  ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวและพืชไร่  โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดถึงร้อยละ 60.04 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด  โดยจะปลูกบริเวณที่ราบลุ่มตอนล่างของลุ่มน้ำในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และกำแพงเพชรเป็นส่วนใหญ่  พืชที่ปลูกในลำดับรองลงมาคือพืชไร่ มีการปลูกประมาณร้อยละ 38.37  ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด   โดยพื้นที่ปลูกพืชไร่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบที่อยู่ห่างไกลน้ำ  ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เหลือมีการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้นในจำนวนไม่มากนักประมาณร้อยละ  0.17  ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด       

พื้นที่การเกษตร  (ตารางกิโลเมตร)

 

 

 

 

รวม

ข้าว

พืชไร่

พืชผัก

ไม้ผล-ไม้ยืนต้น

อื่น ๆ

 

6,698.03

4,280.50

19.08

158.91

-

11,156.53

 

6. พื้นที่ป่าไม้

 

                มีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ในลุ่มน้ำยมทั้งสิ้น  13,742.77  ตร.กม. หรือร้อยละ  58.19  ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ  ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าร้อยละ  3.71  พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติร้อยละ 5.15  และพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ร้อยละ 91.14

พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ตารางกิโลเมตร)

 

 

รวมพื้นที่ป่า
ทั้งหมด

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

เขตอุทยานแห่งชาติ

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

 

509.68

707.69

12,525.40

13,742.77

 

7. พื้นที่ศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน

 

                พื้นที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตร และพัฒนาระบบชลประทาน สรุปดังนี้

รายการ

พื้นที่ของพืชแต่ละชนิด (ตารางกิโลเมตร)

 

 

 

 

รวมพื้นที่
ทั้งหมด
(ตร.กม.)

 

ข้าว

พืชไร่

พืชผัก

ไม้ผล
ไม้ยืนต้น

อื่น ๆ

 

พื้นที่การเกษตรทั้งหมด

6,698.03

4,280.50

19.08

158.91

-

11,156.53

พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

5,595.47

1,930.10

14.19

40.04

-

7,579.81

พื้นที่ศักยภาพการพัฒนาระบบ ชป.

3,824.70

1}177.13

10.06

28.10

-

5,040.00

ร้อยละของพื้นที่ศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานต่อ

 

 

 

 

 

 

- พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

68.35

60.99

70.91

70.17

-

66.49

- พื้นที่การเกษตรทั้งหมด

57.10

27.50

52.74

17.68

-

45.18

 

8. พื้นที่ประสบอุทกภัยและภัยแล้ง

 

                8.1 พื้นที่ประสบอุทกภัย

                สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำยมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

                1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่าง ๆ  เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ

              พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

                2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอลอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม อำเภอโพทะเล อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กิ่งอำเภอทุ่งทราย และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

 

 

                จากข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่า ในลุ่มน้ำยมมี

จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด                                       2,472    หมู่บ้าน

เป็นหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาอุทกภัย            672    หมู่บ้าน (ร้อยละ 27.18)

แบ่งเป็นลักษณะน้ำท่วมขัง                                   463    หมู่บ้าน (ร้อยละ 18.73)

ลักษณะน้ำป่าไหลหลาก                                       209    หมู่บ้าน (ร้อยละ 8.45)

โดยหมู่บ้านที่ประสบปัญหาอุทกภัยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย 307 หมู่บ้าน (ร้อยละ 45.68)

 

                8.2 พื้นที่ประสบภัยแล้ง

                จากข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่า ในลุ่มน้ำยมมี

จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด                                       2,472    หมู่บ้าน

เป็นหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง          1,739    หมู่บ้าน (ร้อยละ 70.35)

แบ่งเป็นหมู่บ้านที่มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แต่ขาดน้ำเพื่อการเกษตร 1,030   หมู่บ้าน (ร้อยละ 41.67)

หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร         709   หมู่บ้าน (ร้อยละ 28.68)

โดยหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย     520   หมู่บ้าน (ร้อยละ 29.90)

 

9. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

 

                โครงการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทต่าง  ๆ  ที่ได้ดำเนินการถึงปี  2544 สรุปดังนี้

ประเภทโครงการ

จำนวนโครงการ

ความจุเก็บกัก
(ล้าน ลบ..)

พื้นที่รับประโยชน์
(ล้านไร่)

โครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง

22

284.84

0.659

โครงการขนาดเล็ก

411

60.54

1.631

โครงการที่ดำเนินการโดย รพช.

55

55.48

0.092

โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

108

-

0.145

รวม

403

56.73

0.476

 

 

 

 

 

 

10. โครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำที่อยู่ในแผนการพัฒนา

 

                1)โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่อยู่ในแผนการก่อสร้างระยะยาว

                แผนพัฒนาแหล่งน้ำของลุ่มน้ำยมที่จัดอยู่ในแผนการก่อสร้างระยะยาว มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมกันทั้งสิ้นจำนวน 23 โครงการ เป็นจำนวนเงินรวมกันทั้งสิ้น ประมาณ 13,565 ล้านบาท

ลำดับที่

ชื่อโครงการ

งบประมาณโครงการปีที่, .. (บาท)

 

 

 

 

งบประมาณรวม
(ล้านบาท)

 

 

1

2

3

4

5

 

 

 

ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

ปี 2550

ปี 2551

 

1

โครงการที่อยู่ในแผนระยะยาวโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

โครงการแก่งเสือเต้น จ.แพร่

 

1,000.0

1,500.0

1,500.0

4,280.0

8,280.0

 

รวมโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่  ลุ่มน้ำยม

 

1,000.0

1,500.0

1,500.0

4,280.0

8,280.0

 

โครงการก่อสร้างขนาดกลาง

 

 

 

 

 

 

1.

โครงการฝายบ้านพญาวัง จ.พิจิตร

72.0

73.0

62.197

 

 

207.197

2.

โครงการระบบส่งน้ำแม่สอง จ.แพร่

85.544

73.432

30.999

 

 

189.975

3.

โครงการประตูระบายน้ำแม่ยม (บ้านหาดสะพานจันทร์) จ.สุโขทัย

90.278

185.0

124.0

120.722

 

520.0

4.

โครงการชลประทานชุมชน(แม่สูง) จ.สุโขทัย

 

290.0

 

 

 

290.0

5.

โครงการชลประทานชุมชน(แม่ถาง) จ.แพร่

 

350.0

 

 

 

350.0

6.

อ่างเก็บน้ำห้วยทรวง จ.สุโขทัย

 

 

185.0

 

 

185.0

7.

อ่างเก็บน้ำแม่แคม จ.แพร่

 

 

240.0

 

 

240.0

8.

อ่างเก็บน้ำแม่แลง จ.แพร่

 

 

195.0

 

 

195.0

9.

อ่างเก็บน้ำแม่สาย จ.แพร่

 

 

270.0

 

 

270.0

10.

โครงการน้ำงิม จ.พะเยา

 

 

117.0

180.0

120.0

417.0

11.

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่รำพัน จ.สุโขทัย

 

 

 

240.0

 

240.0

12.

โครงการน้ำปี้ จ.พะเยา

 

 

 

200.0

400.0

600.0

13.

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่คำมี จ.แพร่

 

 

 

295.0

 

295.0

14.

โครงการห้วยแม่เมาะ จ.พะเยา

 

 

 

40.0

56.0

96.0

15.

ระบบส่งน้ำห้วยท่าแพ (สัญญาที่ 2) จ.สุโขทัย

 

 

 

 

250.0

250.0

16.

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่กองค่าย จ.สุโขทัย

 

 

 

 

160.0

160.0

17.

โครงการห้วยแม่ตีบ (วัวแดง) จ.ลำปาง

 

 

 

 

250.0

250.0

18.

โครงการห้วยโป่งผาก จ.ลำปาง

 

 

 

 

250.0

250.0

19.

โครงการห้วยไร่ จ.สุโขทัย

 

 

 

 

95.0

95.0

20.

โครงการห้วยปากคุ จ.สุโขทัย

 

 

 

 

35.0

35.0

21.

โครงการห้วยแม่รากน้อย จ.สุโขทัย

 

 

 

 

60.0

60.0

22.

โครงการห้วยแม่สำ จ.สุโขทัย

 

 

 

 

90.0

90.0

รวมโครงการก่อสร้างขนาดกลาง  ลุ่มน้ำยม

 

247.822

971.432

1,224.196

1,075.0

1,766.0

3,285.172

รวมโครงการที่อยู่ในระยะยาว ลุ่มน้ำยม

 

247.822

1,971.432

2,724.196

2,375.722

6,046.0

13,565.17

 

                2) โครงการปรับปรุงระบบชลประทาน

                โครงการปรับปรุงระบบชลประทานจำนวน 17 โครงการ เป็นจำนวนเงินรวมกันทั้งสิ้น ประมาณ 179 ล้านบาท 

 

 

 

                3) โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักงานพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ (กรมชลประทาน พ..2539)

                โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและได้จัดเข้าแผนหลักงานพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำยม มีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 27 โครงการ มีปริมาตรความจุเก็บกักทั้งหมด  1,411.74  ล้านลูกบาศก์เมตร  พื้นที่ชลประทานรวมกันเท่ากับ  0.416  ล้านไร่  ต้องการงบประมาณจำนวน  6,999  ล้านบาท

 

                11. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดการน้ำ

            สถานภาพทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำยมในปัจจุบัน (ปี 2544) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และภาพรวมของประเทศ สรุปดังนี้

ดัชนีชี้วัดที่พิจารณา

ลุ่มน้ำยม

กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน

ภาพรวม
ทั้งประเทศ

ดัชนีชี้วัดเชิงพื้นที่

 

 

 

สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ

49.68

42.02

39.93

สัดส่วนพื้นชลประทานปัจจุบันต่อพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

18.91

50.45

26.78

สัดส่วนหมู่บ้านประสบอุทกภัยต่อหมู่บ้านทั้งหมด

18.73

10.92

10.58

สัดส่วนหมู่บ้านประสบภัยแล้งต่อหมู่บ้านทั้งหมด

70.35

56.59

55.10

ดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณ

 

 

 

สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการต่อปริมาณน้ำท่า

 

 

 

     - กรณีปัจจุบัน (ปี 2544)

26.84

88.95

30.34

     - กรณีในอีก 20 ข้างหน้า  (ปี 2564)

32.72

96.01

33.41

     - กรณีพัฒนาเต็มศักยภาพ

135.58

120.57

58.54

สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการฤดูแล้งต่อความจุใช้งาน

 

 

 

     - กรณีปัจจุบัน (ปี 2544)

138.45

85.82

54.11

     - กรณีในอีก 20 ข้างหน้า  (ปี 2564)

175.95

92.43

61.19

     - กรณีพัฒนาเต็มศักยภาพ

836.80

115.80

116.86

สัดส่วนความจุใช้งานต่อปริมาณน้ำท่า

 

 

 

     - กรณีปัจจุบัน (ปี 2544)

8.53

56.52

22.24


หมายเหตุ : 1.  ปริมาณน้ำต้องการในข้อสัดส่วนปริมาณน้ำต้องการต่อปริมาณน้ำท่า  เป็นการคิดปริมาณน้ำต้องการทั้งปีของความต้องการใช้น้ำในทุกด้าน  ได้แก่  อุปโภค-บริโภค  อุตสาหกรรม  ชลประทาน  และรักษาระบบนิเวศท้ายน้ำ

                   2.  ปริมาณน้ำต้องการฤดูแล้งในข้อสัดส่วนปริมาณน้ำต้องการฤดูแล้งต่อความจุใช้งาน  เป็นการคิดปริมาณน้ำต้องการในช่วงฤดูแล้งของความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค  อุตสาหกรรม  และชลประทาน (ไม่รวมปริมาณน้ำต้องการเพื่อรักษาระบบนิเวศท้ายน้ำ)

                จากดัชนีดังกล่าว พอสรุปภาพรวมทั้งลุ่มน้ำยมได้ว่า

                ลุ่มน้ำยมมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติในลุ่มน้ำมากเพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำในสภาพปัจจุบัน แต่จะมีปริมาณน้ำท่าทั้งลุ่มน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตหากมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานจนเต็มศักยภาพที่มีอยู่  แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบัน มีการพัฒนาโครงการประเภทอ่างเก็บน้ำในพื้นที่น้อยมาก และไม่มีโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่เลย จึงไม่สามารถควบคุมและใช้ประโยชน์จากปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเต็มที่

                สรุปสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมได้ดังนี้

                1.   ลำน้ำสาขาที่มีอยู่ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและตื้นเขิน

                2.   ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำที่มีอยู่ก็มีขนาดเล็กและตื้นเขิน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

                3.   ปัญหาการกระจายน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการและขาดแคลนน้ำ

                4.   จากการขาดแคลนน้ำดังกล่าวในช่วงหน้าแล้ง มีการสร้างทำนบชั่วคราวโดยใช้กระสอบทรายปิดกั้นลำน้ำเป็นช่วง ๆ เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจะหลากมาพัดกระสอบทราบพังทลายไปกลายเป็นตะกอนตกสะสมในลำน้ำ

                5.   ปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มสองฝั่งลำน้ำในช่วงฤดูฝน

 

12. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ

 

                จากการพิจารณาสถานภาพทรัพยากรน้ำและสภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำยมในปัจจุบัน และการเปรียบเทียบแนวโน้มปริมาณน้ำท่า ปริมาณความต้องการน้ำ และปริมาตรความจุเก็บกักในลุ่มน้ำยม

            1) แนวทางการพัฒนาในระดับลุ่มน้ำ

                  -     ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในแต่ละลุ่มน้ำสาขา เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้ง

                  -     ก่อสร้างฝายทดน้ำพร้อมระบบส่งน้ำเพิ่มเติม รวมถึงปรับปรุงฝายทดน้ำและระบบส่งน้ำของโครงการชลประทานขนาดเล็กและโครงการชลประทานราษฎร์ที่มีอยู่ในลำน้ำสาขาหลัก เพื่อให้สามารถกระจายน้ำให้พื้นที่ที่มีความต้องการน้ำได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

                  -     ขุดลอกลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ (ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง)

 

            2) แนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำ

                  ควรส่งเสริมการขุดสระน้ำประจำไร่นา ขุดบ่อน้ำตื้น/น้ำบาดาล หรือก่อสร้างถังเก็บน้ำ ตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่

 

 

ที่มา http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2012-05-02-05-21-18/78-2012-05-02-03-28-29/311-08-  สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: