แนวทางป้องกันน้ำท่วมบ้านและอาคาร โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10 ก.พ. 2555


การป้องกันน้ำท่วมคือ การใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อป้องกันอาคารบ้านเรือนและโครงสร้างอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่างๆจาก น้ำท่วม หรือเพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วม  ความรุนแรงของน้ำท่วมขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวแปรต่างๆดังต่อไปนี้ ความลึกของน้ำระยะเวลาของการท่วม ความเร็วในการไหลของน้ำ อัตราการสูงขึ้นของระดับน้ำในแม่น้ำ ความถี่ของการเกิดน้ำท่วม และระยะเวลาการตกของฝน การป้องกันน้ำท่วมที่ได้ผลจะช่วยลดการซ่อมแซมแก้ไขต่างๆ ของอาคารบ้านเรือนหลังน้ำท่วม

 

การป้องกันน้ำท่วมสำหรับอาคารบ้านเรือน

         การพิจารณาจุดอ่อนของอาคารขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารชนิดต่างๆ  รวมถึงความต้านทานต่อแรงดันน้ำ (แรงดันจากน้ำนิ่ง  แรงยกของน้ำและแรงดันจากการไหลของน้ำ) และการเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ (คุณภาพของปูน, พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก)

 

         อาคารสาธารณะที่ใช้สำหรับเป็นที่พักต้องยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม สูงสุดซึ่งสามารถทำได้โดยก่อสร้างอาคารบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูงขึ้น หรือสร้างอาคารโดยยกพื้นให้สูงขึ้น ในพื้นที่ที่น้ำไหลการกั้นกระสอบทรายก็อาจช่วยป้องกันตัวอาคารได้

 

การป้องกันน้ำท่วมสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน

         ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานจากน้ำท่วม อาจมีสาเหตุจากแรงดันน้ำโดยตรงจากการกัดเซาะ หรือจากทั้งสองสาเหตุรวมกันความกว้างของช่องเปิดที่ไม่เพียงพอของแม่น้ำใต้ สะพานจะทำให้ระดับน้ำเหนือน้ำสูงขึ้น ท้องน้ำที่จุดเหนือน้ำและท้ายน้ำของสะพานจึงควรเสริมเครื่องป้องกันการกัด เซาะด้วยส่วนมากการป้องกันการกัดเซาะของท้องน้ำจะเสริมท้องน้ำด้วยอิฐ หิน หรือปลูกพืชคลุมดิน

 

ความเสียหายของระบบประปาคือ การที่น้ำเข้าไปในท่อ ทำให้น้ำมีตะกอนและสารพิษปนเปื้อน ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการวางแนวท่อให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม สำหรับระบบไฟฟ้า ระบบท่อต่างๆ และสายโทรศัพท์ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการเดียวกัน

 

 

วิธีป้องกันความเสียหายจากน้ำไหลตามถนน

         น้ำท่วมที่มาจากรางน้ำที่ถนนหรือท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถนนที่ลาดเอียง อาจจะไหลทะลุผ่านทรัพย์สินเข้าไปในทางถนนโล่งเข้าตัวอาคาร ทะลุผ่านที่ต่ำในท่อระบายน้ำหรือรางน้ำเหนือถนน น้ำอาจจะเปลี่ยนทิศทางอย่างเหมาะสมโดยกองถุงบรรจุทรายหรือแผ่นกระดาน หรือไม้หมอนทางรถไฟ อุปสรรคของน้ำนี้จะควบคุมทิศทางของน้ำให้ไกลจากทรัพย์สิน ดังนั้นป้องกันน้ำที่จะกัดกร่อนสวนและสนามหญ้า ถังน้ำไม่ลึก อุปสรรคก็จะป้องกันน้ำไม่ให้ไปถึงบ้าน ถุงทรายหรือ ฝายไม้แสดงในรูปที่ 1 ต้องถูกวางไว้ที่หัวมนและต้องมีความยาวเพียงพอที่จะเปลี่ยนทางน้ำให้ไหลไป ตามถนน โดยจะมีน้ำบางส่วนเท่านั้นที่ผ่านฝายเข้ามา แต่น้ำส่วนที่ไหลแรงจะถูกตีกลับไปที่ถนน

 

 

วิธีการใช้ถุงทรายเพื่อเปลี่ยนทางน้ำ

         ระดับของถุงทราย ที่ถูกวางอย่างเหมาะสมจะทำให้การไหลของน้ำไหลอ้อมทรัพย์สินแทนที่จะไหลผ่านทรัพย์สิน

 

 

วิธีใช้แผ่นไม้หรือใช้หมอนเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำ

         แผ่นไม้หรือไม้หมอนเมื่อวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถเปลี่ยนทิศทางการ ไหลของน้ำได้  และให้ผลได้ดีกว่าการใช้ถุงทราย แต่ต้องใช้เวลาในการเตรียมและติดตั้งให้มากขึ้น แต่สามารถใช้คนเพียงแค่คนเดียวที่จะติดตั้งและถอนออกได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
 

 

 

วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างโดยมีพื้นคอนกรีต

         ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ น้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพง สามารถซึมผ่านพื้นเข้ามาภายในกำแพงได้

 

 

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้

         1.  อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
         2.  ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้างๆ แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดในรูรั่ว
         3.  วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราว สามารถทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆ กันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างของมันด้วยดิน และเอาแผ่นนี้ออกหลังจากที่น้ำหายท่วมแล้ว เพื่อป้องกันการผุพังและเชื้อราที่จะขึ้นบนไม้

 

 

การป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง

         น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง นอกจากนั้นน้ำยังสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานรากอีกด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ  น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งก่อสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจน กระทั่งล้นและมีระดับเดียวกันกับน้ำภายนอก


ขั้นตอนการปฏิบัติ

 

         1.  อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย แผงกั้นน้ำ ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างให้ได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย  ดังนั้น แผงกั้นน้ำ ทุกชิ้นต้องสามารถถอดย้ายออกได้ หลังจากอันตรายจากน้ำท่วมได้พ้นผ่านไปแล้ว
         2.  อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนัง ด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆ ที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
         3.  อุดรอยรั่วเล็กๆ รอบๆ ท่อด้วยคอนกรีต หรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
         4.  อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

 

 

การทำแผงกั้นน้ำ เพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบายและหน้าต่าง

         1.  ใช้ไม้อัดสำหรับทำแผงกั้นน้ำ  คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับหน้าต่าง
         2.  ติดแถบสักหลาด  หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของ แผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายปะเก็นอุดรูรั่ว
         3.  ยึด แผงกั้นน้ำ ให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควงหรือสลักเกลียว
         4.  ยึด แผงกั้นน้ำ เข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

   
วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู

 

         วิธีที่ 1 :  ใช้ดินน้ำมัน  ดินปั้น  ดินเหนียวตามธรรมชาติหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆ ประตู ธรณีประตู และกรอบประตู วัสดุดังกล่าข้างต้นนั้นสามารถขูดออกได้อย่างสะดวก เมื่อน้ำท่วมได้บรรเทาลง 


         วิธีที่ 2 :  ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง

 

ข้อควรจำ


         - ทั้งวิธีที 1 และ 2  ข้างต้นนั้นมีข้อควรระวังคือ จะต้องทำการล็อคประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตูและยัง ช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด


         - แม้ว่าวัสดุที่กล่าวมาเช่น ดินน้ำมัน และดินปั้นจะใช้อุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ก็จริง แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น
 

 

วิธีการใช้ แผงกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเข้าทางประตู

สามารถป้องกันน้ำที่จะไหลเข้าสู่ประตูทางเข้าได้ด้วยการติดตั้ง แผงกั้นน้ำ


 
การเตรียมพร้อมติดตั้งแผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออก

         ในการติดตั้ง แผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออกนั้น ก็คล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ ในกรณีพิเศษจะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเก็นรอบๆ ขอบด้านล่างของแผ่นกระดาน เพื่อกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

 

ขั้นตอนการปฏิบัติ


         1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดในการทำ แผงกั้นน้ำ ดังแสดงในหน้าตรงข้าม
         2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลี่ยมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็นแล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
         3. อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อ กรอบประตู โดยปกติแล้ว แผงกั้นน้ำ จะไม่แนบสนิทกับประตูเลยทีเดียว  ใช้สารอุดรอยต่อที่คุณภาพสูงจะทำให้มีระยะเวลาการใช้งานนานหลายปี  ก็จะทำให้ไม่ต้องซ่อมแซมหรือซ่อมแซมเพียงเล็กๆ น้อยๆ
         4. หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายฉากประตู  ก็ใช้สลักเกลียวหรือตะปูควงพร้อมด้วยแหวนรองสลักเกลียวยึดติดเข้ากับเสาด้าน ข้างประตูทั้งสองข้าง
 

 

การเตรียมการกันน้ำสำหรับประตูโรงเก็บรถ     

         1.  ใช้ไม้อัดที่มีความหนาที่เหมาะสมประมาณ 25 มม. สำหรับใช้อุดประตูตัดด้านล่างของ แผงกั้นน้ำ ให้พอดีกับผิวของถนนเพื่อป้องกันน้ำด้านล่าง
         2.  สำหรับประตูบานพับ ใช้ แผงกั้นน้ำ แยกกันอุดด้านข้าง และตรงกลางของประตู โดยติดในแนวดิ่งให้สูงกว่า แผงกั้นน้ำ ที่อุดอยู่ด้านล่าง
         3.  อุดรอบๆ บานพับด้วยดินน้ำมันหรือกาวจนมั่นใจว่าไม่มีการรั่วซึมอย่างแน่นอน

การควบคุมการชะล้างพังทลายของเนินดิน

 

1.  นำน้ำออกจากดิน

 

         น้ำไหลตามธรรมชาติ 
         -   ขุดคูน้ำเล็กๆ ให้รอบขอบบนของพื้นที่ ควรขุดขณะดินมีความชื้นสูงจะทำให้ขุดได้ง่าย  โดยให้มีความเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ช้าๆ และขุดให้ปลายของคูน้ำ เชื่อมต่อกับทางระบายน้ำ


         น้ำจากน้ำฝน            
         -  ขุดคูน้ำเล็กๆ ในส่วนบนเนินดินนั้นไม่ควรขุดให้น้ำไหลมารวมกันทางเดียว  ซึ่งจะทำ ให้ดินอ่อนแอและง่ายต่อการชะล้างพังทลาย เราสามารถเพิ่มความมั่นคงของดินได้คือ ใช้แผ่นพลาสติกราคาถูก ปูบนดินนั้น แผ่นพลาสติกจะทำหน้าที่คล้ายกรวด ทำให้น้ำ ส่วนใหญ่ไม่สามารถไหลลงสู่ดินนั้นได้ หรืออาจจะปลูกต้นไม้ทำเป็นรั่วก็ได้เพียงแค่ ตัดพลาสติกให้พอดีกับขนาดของหลุมต้นไม้ ก็จะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงแก่ดิน

 

2.  ทำให้น้ำไหลช้าลง
         เมื่อดินเกิดการชะล้าง เราสามารถควบคุมได้โดยการใช้กรวดหรือไม้แผ่นเล็กๆ มาทำหน้าที่คล้ายเขื่อนทำได้ง่ายๆ โดยการโรยกรวด หรือวางแผ่นไม้ข้ามส่วนที่เป็นลำธารเล็กๆ ซึ่งกรวดและแผ่นไม้จะทำหน้าที่เหมือนเขื่อนกันน้ำๆไว้ หากต้องการเพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น ก็ควรฝังกรวดหรือแผ่นไม้ให้ลึกๆ บนเนินที่มีความชันมากๆ แนะนำให้สร้างคูน้ำเป็นระยะห่างเป็นช่วงๆ และควรดูระดับความสูงของพื้นที่และสามารถปล่อยน้ำให้ไหลเข้าสู่ทางระบายน้ำ

3.  เพิ่มความแข็งแรงของดินเพื่อป้องกันการพังทลาย
         ฟางหรือเศษไม้ก็ส่งผลต่อความมั่นคงในดินได้ และยังมีส่วนช่วยเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน ใช้เศษไม้ปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 3 เซนติเมตรหรือใช้ฟางปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย คือ เพิ่มก๊าซไนไตรเจน

 

4.  ปลูกพืชคลุมดิน
         วิธีนี้เกี่ยวข้องกับวิธีการข้างต้น  ควรปลูกพืชก่อนฤดูแล้ง หญ้าที่ทนแล้งหรือปลูกพืชทนแล้งชนิดอื่นปกคลุม

 

กระสอบทรายสำหรับป้องกันน้ำท่วม

         การวางแนวกระสอบทรายอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ ควรเติมวัสดุให้แน่นเพื่อการป้องกันได้อย่างดีที่สุดจะใช้วัสดุใดก็ได้ที่ สามารถใส่ลงในกระสอบทรายได้แต่ทรายเป็นวัสดุที่ง่ายที่สุดในการทำงาน ฝุ่นและดินเหนียวจะสามารถกั้นน้ำได้ดีกว่าแต่ยากในการทำกระสอบทรายจะใช้ขนาด ใดก็ได้แต่ถ้าจะให้ขนย้ายได้อย่างสะดวกควรมีน้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม ซึ่งเด็กและคนแก่จะสามารถยกไหว


               
การเลือกที่ตั้งของทำนบกระสอบทราย

         ควรเลือกจุดที่ตั้งแล้วทำให้ใช้แนวของกระสอบทรายสั้นและความสูงของทำนบ กระสอบทรายไม่สูงมากนัก ไม่ควรวางทำนบกระสอบทรายชิดกับกำแพง ควรวางห่างออกมาประมาณ 2.5 เมตร ถ้าความสูงของทำนบกระสอบทรายเกินกว่า 1 เมตร ควรถางหน้าดินออกเพื่อให้ทำนบกระสอบทรายมีความมั่นคงมากขึ้น

 

การวางซ้อนกระสอบทราย

         ควรวางกระสอบทรายซ้อนทับกัน วางกระสอบทรายใบแรกตามความยาวของทำนบ และวางถุงต่อไปทับปากถุงของถุงแรก
ฐาน ทำนบควรกว้างไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความสูง วางแถวที่ 2 ขนานกับแถวแรกโดยให้อยู่ชั้นเดียวกัน ชั้นที่ 2 ให้วางกระสอบทรายทับรอยต่อระหว่างแถวแรกกับแถวที่ 2

 

การปิดช่องว่างของทำนบ

         หลังจากวางกระสอบทรายทำทำนบกั้นน้ำเสร็จแล้ว สามารถปิดช่องว่างของทำนบด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อกันน้ำซึม
        - ให้อุดใต้กระสอบทรายด้วยดินหรือทรายหนาประมาณ 2.5 ซม. กว้าง 30 ซม.ไปตามความยาวฐานของทำนบ
วางแผ่นโพลีเอสทีลีนพลาสติกยื่นออกมาประมาณ 30 ซม.จากฐานขอบบนของพลาสติกควรวางข้ามเลยสันของทำนบไปอีกเล็กน้อย
แผ่นพลาสติกควรมีความหนาประมาณ 6 มิลลิเมตร
         - วางแผ่นพลาสติกแบบหลวมๆ แรงดันน้ำจะทำให้แผ่นพลาสติกแนบสนิทกับตัวทำนบกระสอบทราย  หากขึงแผ่นพลาสติกตึงเกินไปแรงดันน้ำอาจทำให้พลาสติกเกิดรอยรั่ว 
         - วางกระสอบทรายทับส่วนที่ยื่นออกมาของแผ่นพลาสติกจากฐานของทำนบกระสอบทรายจะช่วยกันน้ำซึมผ่านตัวทำนบได้
         - วางกระสอบทรายประมาณทุก 2 เมตร ทับขอบบนสันของทำนบ วางดินหรือไม้ทับพลาสติกเพื่อกันลมพัดแผ่นพลาสติกหลุดออกมา
         - ไม่ควรเดินทับแผ่นพลาสติกหรือนำของมีคมเข้าไปใกล้พลาสติก

 

คู่มือการใช้กระสอบทราย

        การรับสถานการณ์น้ำท่วมโดยใช้กระสอบทรายในที่นี้ได้ตรวจสอบและพิจารณา ประสิทธิภาพทางวิศวกรรม ซึ่งเน้นความสำคัญสำหรับโครงสร้างอื่นนอกเหนือจากการทำพนังกั้นน้ำ โดยโครงสร้างดังกล่าวจะช่วยป้องกันความเสียหายจากการเลื่อนไถลและการกัดเซาะ ได้ดี
วิธีการใช้กระสอบทรายเพื่อรับสถานการณ์น้ำท่วม

 

สาเหตุที่ทำให้พนังกั้นน้ำเสียหายในระหว่างน้ำท่วม เกิดจาก
1. การรั่วซึมหรือการที่ทรายใต้เขื่อนสูญเสียเสถียรภาพเรียกว่า ดินเดือด(boil ) และการที่พนังถูกเจาะเนื่องจากสัตว์
2. การกัดเซาะเนื่องจากความเร็วของกระแสน้ำ
3. ระดับน้ำที่จะไหลเข้าท่วมสูงกว่าความสูงของพนังกั้นน้ำทำให้เกิดการไหลล้นข้าม

 

การเดือด (Boil)

         คือ สภาวะที่แรงดันน้ำไหลซึมผ่านใต้ตัวเขื่อนโดยมีความแรงพอจนดันวัสดุที่ใช้ทำ เขื่อน ซึ่งสภาวะนี้มีอันตรายมาก หากทรายหรือวัสดุที่ไม่มีเสถียรภาพเนื่องจากการไหลของน้ำ ถ้าไม่มีการควบคุม วัสดุในเขื่อนส่วนนี้จะถูกกัดเซาะภายในตัวเขื่อนแล้วไหลออกด้านท้ายน้ำจน เกิดเป็นโพรงแล้วเกิดการทรุดตัวลงในที่สุดน้ำก็จะไหลเข้าท่วมทางผิวบนตัว เขื่อน

 

        วิธีทั่วไปที่ควบคุมการเดือด ทำโดยการติดตั้งกระสอบทรายกันน้ำรอบๆจุดที่เกิดการเดือดให้สูงพอที่จะลดความ เร็วที่น้ำไหลซึมเข้ามาในจุดที่วัสดุที่ทำเป็นเขื่อนจะไม่เสียหาย การไหลซึมของน้ำไม่อาจป้องกันได้ทั้งหมดเพราะน้ำอาจไหลซึมเข้าไปในจุดอื่น ที่อยู่ติดกับบริเวณที่วางกระสอบทราย โดยที่วางตำแหน่งกระสอบทรายต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะครอบคลุมทุกจุดที่วัสดุอาจ ถูกดันออกมาได้ ถ้าบริเวณใดที่สังเกตพบว่าเกิดการเดือดหลายครั้งจนอาจเกิดการเคลื่อนที่ของ วัสดุใต้ฐานเขื่อน ให้วางกระสอบทรายรอบๆฐาน เช่นเดียวกับการควบคุมการเดือดไม่ให้วัสดุถูกดันออกจากฐานเขื่อนไม่สามารถ ป้องกันการซึมของน้ำได้ทั้งหมดเพราะอาจเกิดการรั่วไปสู่พื้นที่ใกล้เคียง ต้องควบคุมจุดที่น้ำไหลไปดันวัสดุทำเขื่อนและจุดที่จะถูกน้ำซัดตลอดเวลา 

 

 

 

การชะล้างจากคลื่น (Wave wash)

         เป็นเหตุการณ์ที่กระแสน้ำเกิดคลื่นน้ำเข้ากัดเซาะกับพนังกั้นน้ำหรือโครง สร้างอื่นๆ   เขื่อนกั้นน้ำทั้งหมดที่อยู่ในแนวปะทะของน้ำ ต้องคอยสังเกตการณ์ในระหว่างที่เกิดลมแรงเพราะอาจเกิดการชะล้างจากคลื่น ถ้าผนังเขื่อนปกคลุมด้วยหญ้าจะเกิดความเสียหายน้อยกว่า ในขณะที่เกิดลมพัดแรงและระดับน้ำขึ้นสูง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าสังเกตการณ์ จุดที่อาจเกิดน้ำพัดเสียหาย โดยการฟังจากเสียงหรือถ้ากระแสน้ำไหลช้าและผนังเขื่อนไม่จมทั้งผนังเขื่อน

 

        ในรูปด้านล่างแสดงวิธีการต่างๆที่จะช่วยป้องกันการชะล้างจากคลื่น ซึ่งประกอบด้วยการใช้กำแพงไม้ซึ่งใช้ได้ผลดีและวิธีนี้มีข้อดี คือสามารถก่อสร้างได้รวดเร็วสะดวกในทุกสถานที่และติดตั้งง่าย  วิธีที่สองเป็นการใช้ cotton bagging วางในส่วนที่จะโดนคลื่น   วิธีที่สามเป็นการใช้กระสอบทรายวางจุดที่จะโดนกัดเซาะ โดยวางให้กว้างและสูงพอกับระดับที่คาดว่าจะโดนน้ำท่วม
 

การไหลข้ามสัน (Levee Toping) 

         ถ้าความสูงของเขื่อนที่ทำไว้ต่ำกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึงต้องมีการ เตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้เพิ่มระดับของเขื่อนกั้นน้ำในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะบริเวณถนน ทางแยกทางรถไฟ และเขื่อนกั้นน้ำที่ความสูงไม่มาก ตจะกล่าวถึงวิธีต่างๆที่ใช้เพิ่มระดับความสูงของเขื่อนกั้นน้ำ

 

Lumber and sack Toping:

         ติดตั้งกำแพงไม้ที่ผนังเขื่อนด้านที่น้ำจะมาแล้วเสริมด้วยกระสอบทรายบนยอด ของตัวเขื่อน วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ในสภาวะฉุกเฉิน ใช้หมุดขนาด 2 x 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร ปักตลอดแนวเขื่อนให้มีระยะห่าง 2 เมตร และยึดเข้ากับตัวเขื่อนด้านที่เป็นพื้นดิน และเสริมด้านหลังกำแพงให้สูงพอที่จะช่วยให้กำแพงต้านน้ำได้ ในกรณีที่ระดับการไหลข้ามเกิน 1 เมตร ควรติดตั้งให้เหมาะสมและค้ำด้วยกระสอบทรายกับส่วนของพื้นดิน ในบางกรณีการใช้ดินที่กระทุ้งแน่นๆก็สามารถค้ำกำแพงได้

กล่องกันโคลน (Mud Boxes) 

        วิธีนี้จะใช้กำแพงไม้ตั้งในด้านน้ำบริเวณสันเขื่อนโดยใช้วัสดุที่หาได้เติม เข้าไประยะห่างของกำแพงขึ้นอยู่กับความสูง วิธีนี้มีข้อดีคือส่วนต่างๆ ของสันเขื่อนยังเหมือนเดิมเมื่อนำส่วนต่อเติมออกไปแล้ว

 

การกัดเซาะจากความเร็วกระแสน้ำ (Current Scouring)        

ในบริเวณตลิ่งข้างแม่น้ำและเขื่อนควรมีการสังเกตการณ์เพื่อตรวจสอบความ เป็นไปได้ที่จะเกิดการกัดเซาะของกระแสน้ำ มักพบที่กำแพงกั้นน้ำที่ใช้งานมานาน ทางแยกถนน และบริเวณที่ใช้วางท่อหรือโครงสร้างที่เจาะลึกเข้าไปในเขื่อนกั้นน้ำ  ควรจะระวังให้มากและลดการกัดเซาะที่ท้ายเขื่อนโดยการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ ช่วยเบี่ยงเบนกระแสน้ำที่จะเข้ามากัดเซาะ เช่น การปลูกพุ่มไม้ การใช้วัสดุวางตามแนวแล้วปลูกต้นไม้หรือวางกระสอบทรายระหว่างแนวกิ่งไม้ 

 

ที่มา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมในเขตเมืองเชียงใหม่

 


 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: