‘รัฐบาลลาว’เมินเสียงต้านลงเสาเข็มผุด‘เขื่อนไซยะบุรี’ WWF ชี้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมวิถีชีวิตในอนาคต

เอมพงศ์ บุญญานุพงศ์ ศูนย์ข่าว TCIJ 7 พ.ย. 2555


 

แม้จะมีการต่อต้านอย่างรุนแรงจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งมีการแสดงความห่วงใยจากบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมสุด ยอดเอเชีย-ยุโรป (ASEM 9) ในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว แต่นายวิราพน วิระวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง พลังงานและเหมืองแร่ของลาว ประกาศว่า ลาวจะจัดพิธีตอกเสาเข็ม บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้

 

นายวิราพนกล่าวกับสื่อมวลชนว่า “เขื่อนได้รับการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และตลอด 2 ปีที่มีการหารือกันมา เราได้ตอบข้อข้องใจเกือบทั้ง หมดแล้ว”

 

ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโครงการไซยะบุรีมีเพิ่มมากขึ้นตลอดช่วงปีที่ผ่านมา โดยความกังวลส่วนใหญ่มุ่งไปที่ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์อย่างยิ่ง และไม่สามารถอธิบายถึงผลกระทบของเขื่อนได้อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะข้อกังวลเกี่ยวกับการทำประมง และการไหลของตะกอนแม่น้ำ

 

            “ลาวแสดงความตั้งใจจะเดินหน้าก่อสร้างอย่างมุทะลุ โดยไม่รอให้การศึกษาถึงผลกระทบต่อเขื่อนเสร็จสิ้นก่อน ตามที่ได้ตกลงไว้” ดร.หลี่ ลีเฟิง ผู้อำนวยการโครงการน้ำจืดของ WWF กล่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               “ถ้าหากว่ารัฐบาลในภูมิภาคไม่ยอมที่จะกล่าวย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรีโดยทันที ก็เท่ากับพวกเขาเสี่ยงที่จะนำเอา อนาคตทิศทางการไหลของแม่น้ำโขง ไปขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลที่บกพร่อง และข้อมูลที่ขาดความสมบูรณ์อย่างร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่น่าวิตกต่อประชากรหลายล้านคน ที่อาศัยตามลุ่มน้ำโขง”

 

ในเดือนมิถุนายน 2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT ลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นกับบริษัท ช.การช่าง เพื่อซื้อไฟฟ้ากว่าร้อยละ 95 ที่ผลิตได้จากเขื่อนไซยะบุรี และมีธนาคารในประเทศไทยอย่างน้อย 4 แห่ง ที่แสดงความสนใจให้ เงินกู้ยืมเพื่อก่อสร้างโครงการนี้ แม้จะมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สูงมาก และยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลตอบ แทนจากการลงทุนในโครงการนี้

 

 

                 “ประเทศไทยมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมากในโครงการนี้ และไม่ควรมองข้ามความเป็นไปได้ที่โครงการนี้ จะก่อให้เกิดผลกระทบ ร้ายแรงและทำลายประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประชาชนของตัวเอง” หลี่ กล่าว “ประเทศไทยจะต้องแสดงความรับผิดชอบ และเข้า ร่วมในการเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างเขื่อน รวมทั้งยกเลิกข้อตกลงในการซื้อพลังงาน จนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันในภูมิภาค ในการก่อสร้างเขื่อน” 

 

การกระทำของลาวถือเป็นการหักหน้าข้อตกลงระหว่างกัมพูชา, ลาว, ไทย และเวียดนาม ที่มีขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ที่จะชะลอการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง เพื่อรอการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาผลกระทบของโครงการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลัก อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาว่า การศึกษาเพิ่มเติมนี้จะเสร็จสิ้นลงเมื่อใด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในการศึกษาทบทวนโครงการก่อสร้างเขื่อนที่มีขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบความไม่แน่นอนและจุดอ่อนที่จะเกิดขึ้นต่อเส้นทางอพยพของปลา รวมทั้งข้อมูลยืนยันว่า โครงการไซยะบุรีจะปิดกั้นการไหลของตะกอนแม่น้ำ นอกจากนี้ช่องโหว่ขององค์ความรู้ที่มีความสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องตะกอนแม่น้ำนี้ ก็ยังคงอยู่ รัฐบาลลาวและบริษัท ช.การช่าง ตกลงร่วมกันที่จะใช้เงินอีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการปรับเปลี่ยนการออกแบบเขื่อน ในความพยายามจะบรรเทาผลกระทบในแง่ลบ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การปรับเปลี่ยนนี้จะไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา เนื่องจากยังคงขาดข้อมูลที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีการพิสูจน์มาก่อน

 

 

              “ลาวคาดหวังจะให้เพื่อนบ้านเชื่อมั่นว่า ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ จะแก้ไขได้ในที่สุด ขณะที่การก่อสร้าง ก็เดินหน้าต่อไปได้” ดร.หลี่ กล่าวเพิ่มเติม “ลาวทำให้ความยั่งยืนของระบบแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมไปถึงความร่วมมือข้ามพรมแดนในอนาคต ตกอยู่ในความเสี่ยง จากการผลักดันให้เดินหน้าการทดลองสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแห่งนี้” และในฐานะที่ไซยะบุรี เป็นเขื่อนโครงการแรก ที่เข้าสู่กระบวนการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการ ของคณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) โครงการไซยะบุรีจะกลายเป็นมาตรฐานสำคัญในการก่อสร้างเขื่อนอีก 10 แห่ง ที่มีโครงการจะก่อสร้างในแม่น้ำโขงตอนล่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                “การประชุมเอเชีย - ยุโรป มีผู้นำจากประเทศเอเชียและยุโรปมารวมกันถึง 50 ชาติ ในสัปดาห์นี้ ที่ประเทศลาว ภายใต้คำขวัญ ‘มิตรภาพเพื่อสันติภาพ, ความเป็นหุ้นส่วนและความมั่งคั่ง’ แต่กลับมีเสียงแสดงความห่วงใยต่อโครงการนี้เพียงไม่กี่เสียง ทั้งที่เป็นโครงการที่จะทำให้ความไร้เสถียรภาพ แผ่ขยายไปทั่วทั้งภูมิภาค และบั่นทอนเป้าหมายการพัฒนา ดังนั้นประชาคมนานาประเทศ จึงไม่ควรนิ่งเฉยเกี่ยวกับเรื่องเขื่อนไซยะบุรี” ดร.หลี่ กล่าว

 

WWF ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ยืดระยะเวลาการตัดสินใจเกี่ยวกับเขื่อนแห่งนี้ออกไปอีก 10 ปี เพื่อให้สามารถเก็บรวม รวบข้อมูลสำคัญ แล้วจึงค่อยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ ประกอบการตัดสินใจ WWF ขอแนะนำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง พิจารณาก่อสร้างโครงการเขื่อนที่จำเป็นเร่งด่วนบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงเสียก่อน เพราะสามารถประเมินได้ง่ายกว่า และถือว่ามีความเสี่ยงและผลกระทบน้อยกว่าอีกด้วย

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: