ชาวบ้านหวั่น 'โครงการไฟฟ้ากังหันลมเกาะพยาม' กระทบแหล่งท่องเที่ยว

25 ก.พ. 2559 | อ่านแล้ว 2378 ครั้ง


	ชาวบ้านหวั่น 'โครงการไฟฟ้ากังหันลมเกาะพยาม' กระทบแหล่งท่องเที่ยว

ชาวบ้าน ต.เกาะพยาม ร้องให้มีการตรวจสอบโครงการเกาะอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยหรือโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากกังหันลม โดยใช้พื้นที่ของเกาะพยาม กังวลว่าจะมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยว งงทำประชาพิจารณ์ตอนไหน เรียกร้องให้ทำประชาพิจารณ์ใหม่ ชี้แม้คนบนเกาะต้องการใช้ไฟฟ้า แต่ต้องการความกระจ่างด้วย เช่น การทำประชาพิจารณ์ก่อสร้างแล้วได้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่ (ที่มาภาพ: Google Maps)

25 ก.พ. 2559 สวศ.ระนอง รายงานว่าจากกรณีที่ชาวบ้านตำบลเกาะพยามยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระนอง ให้มีการตรวจสอบโครงการเกาะอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยหรือโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากกังหันลม โดยใช้พื้นที่ของเกาะพยามนั้น นายธเนต ธนาวุฒิ พลังงานจังหวัดระนอง ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ว่าในเรื่องนี้บริษัทเอกชนได้เข้าไปทำโครงการเอง โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดยังไม่ทราบเรื่อง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากกังหันลม ให้บริการพี่น้องประชาชนบนเกาะพยาม ปัจจุบันยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่พี่น้องประชาชนยังไม่มีความเข้าใจในโครงการ จึงมีความกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ ขณะนี้กำลังมีชื่อเสียง มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวกันมาก เรื่องประชาพิจารณ์ก็ยังข้องใจว่าทำตอนไหน เลยมาเรียกร้องให้ทำประชาพิจารณ์ใหม่ คนบนเกาะต้องการใช้ไฟฟ้า แต่ต้องการความกระจ่างด้วย เช่น การทำประชาพิจารณ์ก่อสร้างแล้วได้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่ พอใช้ทั้งเกาะหรือไม่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พลังงานจังหวัดระนอง ยังกล่าวอีกว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ขณะนี้สำนักงานพลังงานจังหวัดระนองกำลังมีการตรวจสอบว่ามีการขออนุญาตถูกต้องหรือไม่

อนึ่งในเว็บไซต์ change.org มีแคมเปญ "Stop ruining Koh phayam with the green energy from Korea company" โดยระบุว่า เรื่อง ร้องขอความช่วยเหลือตรวจสอบการกว้านซื้อที่ดิน ส.ป.ก. ของบริษัทไฟฟ้ามหาชน บนพื้นที่เกาะพยาม เนื่องด้วยเกาะพยามเป็นเกาะที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร เป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดระนอง ประชากรประมาณ 400 ครัวเรือนพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ใด้แก่ สวนมะม่วงหิมพานต์ สวนยางพารา และบนเกาะพยามพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. ชาวบ้านมีอาชีพเสริมคือการทำรีสอร์ทและบังกโล สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเข้ามาในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์เนื่องจากเกาะพยามเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กมีธรรมชาติสวยงามสงบมีนกเงือกอาศัยอยู่มากมายบนเกาะพยามไม่มีรถยนต์ซื่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีเพียงมอเตอร์ไซต์ให้เช่าเท่านั้น ทุกวันนี้เกาะพยามเริ่มบอบช้ำมากขึ้นจากการบุกถางป่าเพื่อทำรีสร์อท เพราะผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ สวนมะม่วงหิมพานต์ก็มีอายุยาวนานเริ่มให้ผลผลิตน้อยลงเพราะภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป และบนเกาะพยามไม่มีสถานที่จัดเก็บหรือทำลายขยะ ชาวบ้านและรีสอร์ทส่วนใหญ่จะนำขยะไปฝังในสวนของตนบางส่วนก็นำไปทิ้งในแหล่งน้ำใกล้ๆ และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม นายก อ.บ.ต. และ กำนัน ใด้เรียกประชุม หมู่บ้านและใด้นำคณะวิชาการ และผู้บริหารของบริษัท  IFCT Green plus ซื่งเป็นบริษัทมหาชนด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น กังหันลมและพลังงานแสงแดดและพลังงานคลื่น ซื่งเป็นโครงการที่จะมีงบประมาณการลงทุนประมาณ 700 ล้านบาทในเบื้องต้น.โดยใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่.แต่ ณ วันนี้มีการติดต่อขอซื้อที่ดินจากชาวบ้านใว้ประมาณเกือบ 200 ไร่และยังคงต้องการเพิ่มอีก โดยวิธีการใหัชาวบ้านไปขอเวณคืนกับ ส.ป.ก. โดย ส.ป.ก. จะซื้อกลับในราคาไร่ละ 80,000 บาท และบริษัทจะให้เงินเพิ่มเติมตามที่ตกลงใว้ และ บริษัทจะนำโครงการพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้ไปเสนอต่อ ส.ป.ก. จังหวัดเพื่อยื่นทำโครงการ ข้าพเจ้าใด้ติดตามเหตุการณ์นี้มาโดยตลอด และมีข้อสงสัยว่ากังหันลมและโซล่าเซลต้องการพื้นที่ ที่ใหญ่มากต้องใช้พื้นที่ในการตัดต้นใม้จำนวนเท่าใหร่และเมื่อติดตั้งแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับมลพิษทางเสียงที่จะเกิดขึ้น24ช.ม.ตลอดปีกกังหันลมยังสามารถทำลายนกและสัตว์ที่อยู่รอบๆและจะต้องติดกังหันกี่ตัวเพราะเกาะพยามเป็นเกาะกลางทะเลมีลมเข้ามาทุกทิศทางหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และบริษัทไอเฟคกรีนพลัสใด้นำผู้บริหารของบริษัท LG ในประเทศไทยมาด้วยเพราะเป็นการร่วมทุนกันข้าพเจ้ามองว่าอนาคตพยามจะเป็นหมู่บ้านพักคนชราของเกาหลีอีกทั้งมลพิษทางเสียงจะทำให้ไม่มีนักท่องเทียวเข้ามาพักชาวบ้านเองก็จะอยู่ไม่ใด้ต้องอพยพขายที่ดินในราคาถูกให้กับนายทุนชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงปัญหานี้เพราะกังหันลมเป็นสิ่งใหม่ในประเทศก็มีไม่กี่แห่ง และกรุณาเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ก่อนมีการลงมือซื่งจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมที่จะถึงถ้าโครงการนี้มีความจริงใจและโปร่งใสไม่ก่อเกิดความเสียหายต่อธรรมชาติและประชาชนชาวเกาะพยาม

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: