บทสัมภาษณ์ ‘HARALD WELZER’ ภาวะโลกร้อนจะนำเราไปสู่สงครามแห่งทศวรรษ

สมานฉันท์ พุทธจักร : 13 ก.พ. 2561 | อ่านแล้ว 3174 ครั้ง


วิกฤตความขัดแย้งที่โลกยุคใหม่ที่สังคมโลกต้องเผชิญ เป็นเหตุให้ผู้อพยพกระจายไปทั่วโลกเพื่อหนีความขัดแย้งที่จบลงด้วยการหันหน้าเข้าประหัตประหารกัน เมื่อมองเพ่งมองไปยังสาเหตุความขัดแย้งนั้นอย่างแท้จริงแล้ว ไม่ได้เป็นแค่เรื่องระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น ยังมีปัจจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้าไปเป็นตัวขับเคลื่อนความขัดแย้งนั้นด้วย ยิ่งในยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์นั้นได้ทำลายสภาพแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทรัพยากรพื้นฐานที่ลดน้อยลงจะนำเราไปสู่การเผชิญหน้ากันเอง

Harald Welzer ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Flensburg ประเทศเยอรมนีผู้เขียนหนังสือ “Climate Wars: Why People Will Be Killed in the 21st Century” (สงครามภูมิอากาศ: เหตุผลที่ผู้คนจะถูกฆ่าในศตวรรษ 21) ได้ให้สัมภาษณ์กับ Sean Illingจาก เว็บไซต์ vox.com ถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกับความขัดแย้งของโลก

Harald Welzer ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Flensburg  (ที่มาภาพ: wikimedia.org)

Sean Illing: การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับความขัดแย้งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

Harald Welzer: หลักการง่าย ๆ เลย คือมันเป็นเรื่องปกติที่ความรุนแรงจากความขัดแย้ง (violent conflict) จะมีสูงขึ้น เมื่อภาวะการอยู่รอดของกลุ่มคนถูกคุกคาม คำถามของผมก็คือถ้านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเกี่ยวภาวะโลกร้อน สิ่งพวกเขาพูดนั้นถูกหรือไกล้เคียงความจริงเกี่ยวภาวะโลกร้อน หมายความว่ามันคือเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีเกิดความรุนแรงจากความขัดแย้ง และผมคิดว่าคำตอบของคำถามนั้นไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่

คุณจะเห็น ความรุนแรงจากความขัดแย้งเหล่านั้น เมื่อดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน อย่างความขัดแย้งแย่งชิงที่ดินจากปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย หรือความขัดแย้งด้านทรัพยากรหลาย ๆ อย่างที่มีให้เห็นบ่อยครั้งทั่วโลก สำคัญคือมันทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและความขัดแย้ง ที่มีสาเหตุความเป็นมาที่เกี่ยวโยงกันโดยตรง

Sean Illing: อะไรคือตัวแปรสำคัญที่บงชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุสำคัญของความของความรุนแรง

Harald Welzer: เรามีตัวอย่างที่สำคัญอย่าง “Darfur conflict” (ความขัดแย้งในดาฟูร์ประเทศซูดาน) เพราะจะเห็นได้ชัดว่ามันเกิดอะไรขึ้นเมื่อกลุ่มต่าง ๆ อย่างผู้เลี้ยงสัตว์หรือชาวมา ต้องลุกขึ้นต่อสู่กันเพื่อแหล่งทรัพยากรที่มีจำกัด เมื่อที่ดินสูญหายไป (จากการขยายตัวของทะเลทราย) ทำให้เห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่กลับไม่มีสถาบันที่สามารถเป็นตัวกลางจัดการความขัดแย้งได้

ยังมีงานศึกษาอีกหลายชิ้นที่ชี้ไปทางที่ว่าการเกิด อาหรับสปริง มีบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สืบเนื่องจาการพุ่งสูงขึ้นของราคาอาหารและข้าวของต่าง ๆ โดยผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพอากาศ แต่ต้องย้ำกันอีก เราไม่สามารถเอาจับเอางานวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมาโยงเข้ากับงานศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งได้เสมอไป มันจึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ผมต้องเขียนหนังสือเริ่มนี้

Sean Illing: แต่ก็มีรายงานบางชิ้นที่บอกว่าไม่มีหลักฐานที่แข็งแรงพอที่จะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลโดยตรงกับความขัดแย้ง

Harald Welzer: นักวิจัยที่ละเอียดรอบครอบหลายคนจะบอกว่า “อาจจะบอกว่ามันมีความเกี่ยวโยงกันอยู่บ้างระหว่างการเปลี่ยนสภาพอากาศและความขัดแย้ง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง” มันไม่เคยหรือแทบจะไม่เคยเกี่ยวข้องกันโดยตรงกันเลยเมื่อเราพูดกันแต่เรื่องของมนุษย์ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมีปัจจัยมากมายหลากหลายมากกว่าเพียงเรื่องของมนุษย์ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยวิถีที่ต่างกันออกไป มันซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ

แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะทำความเข้าใจมัน กลุ่มผู้ลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสถาพอากาศจะนำมาสู่การสังคมที่ยุ่งเหยิงและความรุนแรงจากความขัดแย้ง ผมคิดว่าจะปรากฎการณ์นี้ชัดเจนขึ้นในทศวรรษข้างหน้า คุณสามารถเห็นได้แล้วในยุโรปที่ เกิดลัทธิชาติภูมินิยมและความเกลียดกลัวชาวต่างชาติขยายตัวมากขึ้น แล้วเราก็จะพูดถึงเรื่องสร้างกำแพงที่ชายแดนบ่อยครั้งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แต่สิ่งเหล้านี้ก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนภาพอากาศเช่นกัน โดยเฉพาะกระแสการเคลื่อนถิ่นฐาน ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นตัวเร่งและเชื้อเพลิ่งที่จุดให้กระแสนั้นดำเนินไปทั่วโลก นั้นเป็นอะไรที่ผมกังวลใจ สภาพความเป็นอยู่ของเราที่เริ่มสั่นคลอนหนักขึ้นเรื่อย ๆ คุณจะได้เห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวดันผิวโลกลูกโปร่งการเมืองของเรา นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น

Sean Illing: “เราไม่เคยออกห่างจากความรุนแรง” ภาพของโลกในอนาคตที่คุณอ้างถึง ไม่ใช่ภาพที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องอุดมการณ์หรืออุดมคติ แต่เป็นภาพของการต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากรพื้นฐาน

Harald Welzer: ใช่ ผมคิดว่านี้คือจุดสำคัญ อุดมการณ์มักจะเป็นเพียงเหตุผลผิวเผินของความขัดแย้ง ผู้คนจะมาพร้อมกับการแสดงถึงเหตุผลกับสิ่งที่เขาได้ทำในโลกของการเมือง แต่ถ้ามองลึกลงไปในต้นต้อของความขัดแย่งในอนาคต คุณจะได้เห็นความขัดแย้งในทรัพยกรพื้นฐานในก้นบึงทั้งหมดของมัน

ผมมีความเชื่อว่าเราจะได้เห็นยุคเรเนอซองของความรุนแรงจากความขัดแย้ง ในศตวรรษที่ 21 นี้ และหลายความขัดแย้งจะผุดขึ้นพร้อมกันกับการเปลี่ยนแปลงสถาพอากาศ ซึ่งยากที่จะคาดเดาระดับของความรุนแรงของ ที่ที่มันจะอุบัติขึ้นหรือเมื่อไหร่มันจะมาถึง แต่เราบบอกได้อย่างมั้นใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นจะเป็นส่วนนำคัญของโลกในการลดทอนการเห็นใจสิ่งกันและกันของมนุษย์ และสิงที่จะตามมาคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตและที่อยู่อาศัยของเรา

Sean Illing: จากในหนังสือคุณชี้ให้เห็นว่าเราเชื่อในความมนุษย์และให้ความศรัทธาในเหตุผลและกฎหมายมากเกินไป ในความคิดของคุณอารยธรรมของเราเปราะบางขนาดไหน มันง่ายขนาดไหนที่มันจะพังลง

 

Harald Welzer: เมื่อใส่มุมมองทางสังคมวิทยาลงไป มันมีความเป็นไปได้เสมอว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสัจจะธรรมของชีวิตมนุษย์ ดังนั้นความรุนแรงไม่เคยไปไหนมันอยู่ที่นี้ตอนนี้ในรูปแบบต่าง ๆ เสมอมา แต่ถ้าเรามีความขัดแย้งด้านทรัพยากรที่สูงขึ้นหรือความตึงเครียดอื่นๆที่ข้องเกี่ยวกับความรุนแรง เราก็จึงได้แต่คาดหวังงว่าจะมีสิ่งที่จะมาขัดขวางความขัดแย้งนั้น

และมันไม่ใช่แค่เรื่องความเปราะบางของอารยธรรมอย่างที่ว่ามา มันเกี่ยวกับองกรค์ทางอำนาจของสังคม ในบางสังคมจะมีองค์กรทางอำนาจที่มีความประสิทธิภาพ ที่จะสามารถให้พวกเขาได้ในสิ่งได้พวกเขาต้องการและหยิบคว้าสิ่งที่พวกเขาอยากได้ ผมคิดว่าสภาวะที่ไม่สมดุลนี้จะเป็นตัวสร้างความขัดแย้ง

Sean Illing: เราเตรียมรับมันหรือยัง? เหมือนว่าเราจะมีสถาบัน โครงสร้างและระบบของหน่วนงานที่จะจัดการกับปัญหาให้กับเรา

Harald Welzer: ผมไม่คิดแบบนั้น ผมไม่คิดว่าเรามีการดำรงอยู่ของโครงสร้างการรักษาสันติภาพ ที่จะสามารถค้ำอยู่ได้ภายใต้สภาวการณ์แบบนั้น เท่าที่ผมเห็นถึงจะมี แต่ที่ผ่านมาโครงสร้างพวกนั้นก็ไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังเสียเท่าไหร่ หรืออาจจะมีความคืบหน้าเรื่องนี้อยู่บ้างในช่วงครึ่งทศวรรษที่ 20 ด้วยการใช้กฎหมายต่างประเทศ สหประชาชาติหรือสถาบันอะไรแบบนั้น แต่ผมยังคงเชื่อว่ามันไม่เวิร์คเท่าไหร่ ที่เป็นกลไกลซึ่งจะป้องกันความรุนแรงจากความขัดแย้งได้สำเร็จ

Sean Illing: อย่างที่คำถามที่คุณได้ตั้งขึ้นในช่วงต้น ๆ ของหนังสือของคุณ ซึ่งผมไม่คิดว่ามีคำตอบที่น่าพอใจ คำถามนั้นประมาณว่า สังคมประชาธิปไตยซึ่งสร้างอยู่บนระบบของการเจริญเติบและกำลังผลิตที่ไร้ขีดจำกัด จะสามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์แห่งการบ่อนทำลายที่มนุษย์มีกับกับธรรมชาติได้หรือไม่

Harald Welzer: นี้คือคำถามที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษที่ 21 นี้คือความย้อนแย้งของสังคมเสรีนิยมประชาธิปไตยยุคใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงชีวิตและเสรีภาพ ของผู้คนที่อยู่ภายใต้ระบบนั้น ปัญหาคือมันเป็นระบบที่อิงอยู่กับแสวงหาผลประโยชน์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเรา แล้วพวกเราก็ติดอยู่กับกระบวนทัศน์แบบนี้ ผมคิดว่าเราต้องการอะไรบางอย่างที่เป็นเหมือนทฤษฏีใหม่ในยุคสมัยใหม่ เราต้องการต้นแบบของสังคมที่สามารถจัดการกับปัญหาระบบนิเวศเหล่านั้นไว้บนโต๊ะ แต่ตอนนี้ยังไม่มีมัน


บทความนี้เป็นการแปลและเรียบเรียงเพื่อความเข้าใจง่ายจึงไม่ตรงกับต้นฉบับทั้งหมด อ่านฉบับเต็มได้ที่ How climate change could lead to more wars in the 21st century (Sean Illing, vox.com, 14/11/2017) 

ที่มาภาพประกอบหน้าแรก: vox.com/Javier Zarracina
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ z-world.co

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: