ขณะที่ UNIQLO กำลังเปิดแชมเปญฉลองที่ยุโรป คนงานเดินทางไปเคาะประตูถึงบ้านที่ญี่ปุ่น

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 14 ต.ค. 2561 | อ่านแล้ว 3767 ครั้ง

ขณะที่ UNIQLO กำลังเปิดแชมเปญฉลองที่ยุโรป คนงานเดินทางไปเคาะประตูถึงบ้านที่ญี่ปุ่น

คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวอินโดนีเซีย เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อรณรงค์ Pay Up UNIQLO ระดับโลกทั้งในยุโรป สหัฐอเมริกา อินโดนีเซียและเอเชียตะวันออก เรียกร้องให้แบรนด์ดังกล่าวจ่ายค่าชดเชยหลังจากบริษัทรับจ้างผลิตเลิกจ้างคนงานเพราะล้มละลาย ที่มาภาพประกอบ: waronwant.org

คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวอินโดนีเซีย 2 คนจากทั้งหมด 2,000 คน เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อรณรงค์ Pay Up UNIQLO ระดับโลกทั้งในยุโรป สหัฐอเมริกา อินโดนีเซียและเอเชียตะวันออก เรียกร้องให้แบรนด์ดังกล่าวจ่ายค่าชดเชยมูลค่า 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจาก Jaba Garmindo บริษัทรับจ้างผลิต เลิกจ้างคนงานเพราะล้มละลายเมื่อปี 2015 ซึ่งมาจากการที่ UNIQLO ถอนคำสั่งซื้อทั้งหมด

การรณรงค์เรียกร้องสิทธิแรงงานให้แบรนด์แฟชั่นระดับโลกแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ยาวนานนี้เพื่อให้มีการจ่ายค่าชดเชยที่คนงานยังไม่ได้รับจากบริษัท Jaba Garmindo

หลังถูกแจ้งว่าบริษัทล้มละลายเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2015 คนงานก็เริ่มต่อสู้เรียกร้อง วาร์นี หนึ่งในคนงานอินโดนีเซียที่เดินทางไปกรุงโตเกียวเล่าว่า "UNIQLO มีอิทธิพลต่อบริษัทของเรามาก เมื่อคำสั่งซื้อเข้ามา โรงงานก็ซื้อเครื่องจักรใหม่และลงทุนเพิ่มเติม เป้าผลิตที่กำหนดมีจำนวนมากจนเราต้องทำงานล่วงเวลาหลายชั่วโมง เราต้องเย็บแขนเสื้อถึงวันละ 900 ชิ้นโดยไม่เข้าห้องน้ำเลย และในตอนนั้นสามีของฉันป่วยเข้าโรงพยาบาล แต่ฉันไม่ยอมหยุดงานไปดูแลจนเขาเสียชีวิตในทีี่สุด"

Mirjam Van Heugten จากองค์การรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด (Clean Clothes Campaign-CCC) กล่าวว่าขณะที่ประธานบริหาร UNIQLO เดินทางไปยังยุโรปเพื่อเปิดแชมเปญฉลองร้านใหม่อยู่นั้น วาร์นีและเพื่อนคนงานมีหนี้สินสะสมจำนวนมากหลังโรงงานปิดตัวแล้วไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยเลิกจ้าง ทั้งที่ UNIQLO รับรองมาตรฐานแรงงานให้ต้องบังคับบริษัทที่รับจ้างผลิตของตัวเองต้องปฏิบัติตาม แต่ปล่อยให้คนงานเดือดร้อน ซึ่ง UNIQLO ต้องจ่ายเช่นเดียวกับแบรนด์ Adidas และ Nike

เมื่อเดือน ส.ค. 2014 UNIQLO ได้รับแจ้งถึงปัญหาการเลิกจ้างคนงานตั้งครรภ์ผิดกฎหมายการไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ปัญหาความปลอดภัยและสุขภาพ การละเมิดสภาพแรงงานของบริษัท Jaba Garmindo ตาม "รายงานการละเมิดสิทธิ" แต่หลังจากมีข้อพิพาทในประเด็นเหล่านั้น UNIQLO เริ่มถอนคำสั่งซื้อด้วยเหตุผลคุณภาพการผลิต บริษัท Jaba Garmindo ผลิตตามคำสั่งซื้อครั้งสุดท้ายเดือน ต.ค. 2014 ต่อมาเดือน ม.ค. 2015 บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างตามเวลาที่กำหนดจนถึงเดือน เม.ย. 2015 บริษัทก็ล้มละลายและลอยแพคนงาน

ด้วยเหตุนี้ วาร์นี, เท็ดดี้ และเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งองค์กรที่สนับสนุนทั่วโลกจึงรณรงค์เรียกร้อง UNIQLO ที่ล่าสุดมีกำไรเพิ่มขึ้น 38% บังคับให้บริษัทจาบาจ่ายค่าชดเชยให้คนงานทันที

แปลและเรียบเรียงจาก
https://cleanclothes.org/news/2018/10/09/as-uniqlo-pops-the-champaign-in-europe-deprived-garment-workers-knock-its-door-in-japan

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: