คนไทยรู้ยัง: เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.ตาก มีธุรกิจขนาดใหญ่เพียง 3 แห่ง จาก 1,313 แห่ง

ทีมข่าว TCIJ : 16 มิ.ย. 2560 | อ่านแล้ว 4630 ครั้ง

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือน ธ.ค. 2559 พบนิติบุคคลคงอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตากจำนวน 1,313 ราย มีธุรกิจขนาดใหญ่ลงทุนเพียง 3 แห่ง หรือคิดเป็น 0.2% เท่านั้น ในด้านการลงทุนจากต่างประเทศพบพม่าลงทุนมากกว่าจีน ที่มาภาพ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุถึงความคืบหน้าของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 จังหวัดตาก ณ เดือน ธ.ค. 2559 ว่าในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก มีนิติบุคคลคงอยู่จำนวน 1,313 ราย ทุนจดทะเบียน 4,657.67 ล้านบาท ในด้านขนาดของธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เป็นธุรกิจ SMEs จำนวน 1,295 ราย (คิดเป็น 99.8%) ขนาดกลาง 15 ราย (1.2%) และขนาดใหญ่มีเพียง 3 ราย (0.2%) เท่านั้น

โดยธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1. ก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 125 ราย อันดับ 2. ขายส่งสินค้าทั่วไป 97 ราย (7%) ทุนจดทะเบียน 155.70 ล้านบาท (3%) อันดับ 3. อสังหาริมทรัพย์ 52 ราย (4%) อันดับ 4. ขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืช 46 ราย (4%) 5. ผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก 40 ราย (3%)

ในด้านการลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก มีมูลค่าทั้งสิ้น 555.53 ล้านบาท คิดเป็น 12% ของมูลค่าทุนทั้งหมดประเทศที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1.ไต้หวัน ทุนจดทะเบียน 172.86 ล้านบาท (31%) อันดับ 2. ฮ่องกง ทุนจดทะเบียน 56.49 ล้านบาท (10%) อันดับ 3. ญี่ปุ่น ทุนจดทะเบียน 52.12 ล้านบาท (9%) อันดับ 4. พม่า ทุนจดทะเบียน 41.45 ล้านบาท (7%) และอันดับ 5. จีน ทุนจดทะเบียน 23.01 ล้านบาท (4%) และประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก อันดับ 1. ผลิตเครื่องจักร 105.00 (19%) 2. ผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 63.85 (11%) 3. ผลิตชุดชั้นในและชุดนอน 56.49 (10%) 4. ตัดเย็บเสื้อผ้าตามคาสั่งซื้อ 53.73 (10%) 5. ผลิตสิ่งทอ 46.00 (8%)

อนึ่งเกณฑ์การแบ่งขนาดธุรกิจจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ตามนิยามของ สสว.

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: