เตรียมขยาย MOU ซื้อไฟจากลาวเพิ่มเป็น 9 พันเม็กกะวัตต์

3 พ.ค. 2559 | อ่านแล้ว 2171 ครั้ง


	เตรียมขยาย MOU ซื้อไฟจากลาวเพิ่มเป็น 9 พันเม็กกะวัตต์

กฟผ. เผยเตรียมขยายข้อตกลงเบื้องต้นซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาวจาก 7,000 เมกะวัตต์ เป็น 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้วจำนวน 5,400 เมกะวัตต์ ด้านลาวขอขายให้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ แต่ ก.พลังงานเห็นว่าไทยไม่ควรพึ่งพาประเทศไทยประเทศหนึ่งมากเกินไป (ที่มาภาพ: tdworld.com)

3 พ.ค. 2559 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาลในการกระจายความเสี่ยงเรื่องเชื้อเพลิงจากปัจจุบันพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเกือบร้อย 70 โดยวางแผนเพิ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมาร์ กัมพูชา และ สปป.ลาว ซึ่ง ล่าสุด กระทรวงพลังงาน มีนโยบายจะรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว โดยขยายข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) จาก 7,000 เมกะวัตต์ เป็น 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ไปแล้วจำนวน 5,400 เมกะวัตต์

“การซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน นับเป็นความสัมพันธ์ที่ดีและได้ประโยชน์ร่วมกัน และ บริษัทในเครือ ของ กฟผ.ก็มีโอกาสในการลงทุนด้วย ซึ่งในส่วนของ บริษัม กฟผ.อินเตอร์ฯ หรือ EGATI นับว่ามีประสิทธิภาพ หากรัฐบาลช่วยแก้กฏระเบียบการลงทุนให้คล่องตัวเหมือน ปตท.ก็อาจทำให้ขยายการลงทุนได้เพิ่ม” นายสุนชัยกล่าว

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ รองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า ในเรื่องการขยายเอ็มโอยูทาง สปป.ลาว เสนอให้ขยายความร่วมมือเป็น 10,000 เกมะวัตต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานเห็นว่า ไทยไม่ควรพึ่งพาประเทศไทยประเทศหนึ่งมากเกินไป เพราะจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ดังนั้น จึงจำกัดการซื้อไฟฟ้าจากแต่ละประเทศไว้ไม่เกิน 15% ของกำลังการผลิตติดตั้งในประเทศไทย ดังนั้น จึงเห็นชอบให้ซื้อไฟฟ้าจากลาว 9,000 เมกะวัตต์ โครงการใหม่ที่จะเข้ามา จะมีทั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น โครงการเซกอง 4-5 รวมถึงโรงไฟฟ้าปากเหมืองถ่านหินซึ่งจะมีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาที่เพิ่งจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. จำนวน 1,473 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตทั้งหมด 1,878 เมกะวัตต์

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: